วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555


จิตวิทยาการเรียนรู้

การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก อื่น ๆ ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ ที่ว่า "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้

การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ ได้ ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning)
..........ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
...........ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง
..........ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่มองเห็น และสังเกตได้มากกว่ากระบวนการคิด และปฏิกิริยาภายในของผู้เรียน ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
๑. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
.....๑.๑ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theories)
.....๑.๒ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
๒. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)
.....๒.๑ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory)
.....๒.๒ ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
.........อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก บุคคลสำคัญของทฤษฎีนี้ ได้แก่ Pavlov, Watson, Wolpe etc.

John B. Watson นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1878 - 1958) ได้ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ ๑๑ เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlov หลังการทดลองเขา
 

การปรับพฤติกรรมและการแต่งพฤติกรรม
..........การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยใช้หลักการเสริมแรงและการลงโทษ
..........การแต่งพฤติกรรม (Shaping Behavior ) เป็นการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมใหม่ โดยใช้วิธีการเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งเกิดพฤติกรรมตามต้องการ

บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction)
.........เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา หรือครูผู้สอนสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและ คำเฉลย การสร้างบทเรียนโปรแกรมใช้หลักของ Skinnerคือเมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรม จบ ๑ บท จะมีคำถามยั่วยุให้ทดสอบความรู้ความสามารถ แล้วมีคำเฉลยเป็นแรงเสริมให้อยากเรียนบทต่อๆ ไปอีก

ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's Connectionism Theory)

Edward L. Thorndike (1874 - 1949) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา" เขาเชื่อว่า "คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ" จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา

ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์มีพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ นักจิตวิทยาจึงต้องใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ วิธี ซึ่งการที่จะเลือกใช้วิธีการใด ๆ ย่อมขึ้นอยู่กับปัญหาที่จะศึกษาและสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น

วิธีการที่นักจิตวิทยานิยมใช้มี 6 วิธีด้วยกัน

 1. การสังเกต (observation) เป็นการใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกตสัมผัสสิ่งที่ต้องการสังเกต นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการสังเกตอย่างมีเหตุผล และแผนการในการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อหาอันดับต่อเนื่องของพฤติกรรมทั้งหลายว่า พฤติกรรมอันหนึ่งซึ่งเกิดก่อนเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่ตามมาใช่หรือไม่ การสังเกตแบ่งออกเป็น2 ลักษณะ คือ การสังเกตอย่างมีระบบและการสังเกตอย่างไม่มีระบบ
1.1 การสังเกตอย่างมีระบบ หมายถึง การสังเกตที่มีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะสังเกตพฤติกรรมประเภทใด ในช่วงเวลาใด จะบันทึกพฤติกรรมที่สังเกตอย่างไร
1.2 การสังเกตอย่างไม่มีระบบ หมายถึงการสังเกตที่ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า เพียงแต่เมื่อผู้สังเกตพบเหตุการณ์ที่ตนสนใจก็สังเกตรายละเอียดบางอย่างเอาไว้
การสังเกตอาจใช้เครื่องมือช่วยบันทึกรายละเอียด เช่น เครื่องบันทึกเสียง วิดิโอและกล้องถ่ายภาพ เป็นต้น ภายหลังจากการสังเกตพฤติกรรมแล้วต้องมีการบันทึกพฤติกรรมที่สังเกตทุกครั้ง โดยผู้สังเกตต้องวางตัวเป็นกลาง ปราศจากอคติ และควรเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

2. การสำรวจ (surveys) เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลายในการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากประชากร หรือจากกลุ่มตัวอย่าง และมักเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเจตคติและความสนใจ ความคิดเห็นและการรับรู้ ข้อดีของการศึกษาวิธีการนี้คือ สามารถตั้งคำถามได้ตรงจุด และคำตอบจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ อย่างแท้จริง ในการสำรวจจะต้องมีการวางแผนในการเลือกกลุ่มประชากรเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับผู้ที่อ่านออกเขียนได้ มี 2 แบบ คือแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามปลายปิด ส่วนการสัมภาษณ์มักจะใช้ควบคู่กันไปกับแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้น หรือใช้กับบุคคลที่อ่านหนังสือไม่ออกหรือเขียนไม่ได้ หรือไม่มีความถนัดในการใช้ภาษา

3. การทดสอบและการวัด (test and measurement)
3.1 การทดสอบทางจิตวิทยา (psychological tests) เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่สำคัญมาก ใช้วัดความสามารถต่าง ๆ ของบุคคล เช่น ความสนใจ เจตคติ ความถนัดสติปัญญา บุคลิกภาพ และสัมฤทธิผลในด้านต่าง ๆ การทดสอบจะเป็นการเสนอสิ่งเร้าให้บุคลตอบสนองตามวิธีการหรือเกณฑ์ที่กำหนด สิ่งเร้าที่ใช้ในการทดสอบ เรียกว่าแบบทดสอบ ซึ่งแบบทดสอบที่ดีต้องมีความตรง (validity) มีความเที่ยง (reliability) และสามารภนำไปใช้ได้สะดวก การใช้แบบทดสอบเพื่อวัดบุคคลในด้านต่าง ๆ จะทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
มากขึ้น
3.2 การวัดทางร่างกาย (biological measures) ได้มีการสร้างเครื่องมือและเทคนิคเพื่อวัดลักษณะต่าง ๆ ทางร่างกายและการทำงานของสมอง เพื่อดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายในขณะที่เกิดพฤติกรรม เช่น มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง เกิดจากการหลั่งสารเคมีบางอย่างผิดปกติในสมอง หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบในกระแสเลือด จะทำให้คนรู้สึกหิว ซึ่งผิดกับสมัยก่อนที่เชื่อกันว่า ความหิวเกิดจากการบับตัวของกระเพาะอาหาร หรือการสร้างเครื่องมือเพื่อวัดการไหลเวียนของเลือด การทำงานของสมอง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและไฟฟ้าภายในร่างกายในขณะที่บุคคลมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ติดยาเสพย์ติด ประสาทหลอน นอนหลับ อาจจะวัดการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด และระบบการหายใจในขณะที่คนมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรุนแรง อาจจะวัดการบีบตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของคลื่นสมองในขณะที่คนอยู่ในภาวะเครียด และผ่อนคลาย

4. การศึกษาสหสัมพันธ์ (correlational studies) สหสัมพันธ์เป็นเครื่องมือทางสถิติที่นักจิตวิทยานำมาใช้ในการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้วิจัย เช่น สติปัญญาของพ่อแม่กับสติปัญญาของลูกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หรือการศึกษาพฤติกรรมของเด็กนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนนสม่ำเสมอกับเด็กนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย ในประเด็นที่ว่าเด็กนักเรียนที่เข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอโดยทั่วไปจะทำคะแนนสอบได้ดีกว่าเด็กนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย ในการศึกษาผู้วิจัยไม่ได้ควบคุมตัวแปรใด ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นความตั้งใจในการเรียนของเด็ก หรือคะแนนสอบ แต่ศึกษาสังเกตความสัมพันธ์ของเด็กทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งนี้ในการสำรวจก็ศึกษาสหสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกัน ถ้าผู้สัมภาษณ์ทำการเปรียบเทียบกลุ่ม 2 กลุ่ม หรือมากกว่า 2กลุ่ม เช่น จะเปรียบเทียบความเชื่อของเพศชายกับเพศหญิง หรือความเชื่อของคนหนุ่มกับคนแก่ว่าเป็นอย่างไร โดยการวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตัวหนึ่ง (เพศ หรืออายุ) กับตัวแปรอีกตัวหนึ่ง (ความเชื่อ)

5. การศึกษาอัตชีวประวัติ (case histories) เป็นวิธีการศึกษาที่นิยมใช้กับผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์ มีความประพฤติ หรือมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ เป็นการศึกษาชีวประวัติ หรือภูมิหลังของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอย่างละเอียดในทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจะทำให้ทราบประวัติ พัฒนาการของบุคคลนั้นสามารถทำได้โดยการสังเกต และบันทึกการพัฒนาการของบุคคลนั้น ๆ เอาไว้ หรือจัดสร้างชีวประวัติขึ้นมาใหม่โดยอาศัยข้อมูลจากการบอกเล่าของผู้ที่ต้องการศึกษาจากบิดามารดา หรือจากบุคคลอื่น ๆ ที่รู้จักและเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์ซึ่งจะสามารถค้นหาพฤติกรรม และความรู้สึกต่าง ๆ ภายในของบุคคลที่มีปัญหา การศึกษาวิธีนี้จะช่วยให้เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุคคลนั้นได้มากขึ้น

6. การทดลอง (experimental studies) เป็นการจัดหรือการสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อการศึกษา และมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่ต้องการให้มีอิทธิพลต่อผลการทดลองน้อยที่สุด การทดลองสามารถทำได้ในสภาพธรรมชาติ เรียกว่า การทดลองภาคสนาม และการทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่การควบคุมตัวแปรในการทดลองภาคสนามทำได้รัดกุมน้อยกว่าการทดลองในห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้นในการทดลองทางจิตวิทยานิยมใช้ทดลองเป็นกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยกันคือ (1) กลุ่มทดลอง หมายถึง กลุ่มที่ต้องการจะศึกษา เป็นกลุ่มที่ต้องการจะศึกษา จะถูกกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการบางอย่าง หรือมีการสร้างภาพการณ์บางอย่างขึ้นมา (2) กลุ่มควบคุม หมายถึง กลุ่มที่ต้องการจะนำมาใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่จะอยู่ในสภาพการณ์ปกติ
จุดหมายที่สำคัญในการทดลอง คือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรในการทดลอง หมายถึง สิ่งที่สามารถเปลี่ยนค่าได้ ตัวแปรในการทดลองแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ตัวแปรอิสระ หมายถึง สภาพการณ์ที่ผู้ทดลองจัดสร้างขึ้นเพื่อพยายามค้นหาว่าสิ่ง ๆ นั้นมีอิทธิพล หรือมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้ทดลองอย่างไร (2) ตัวแปรตาม หมายถึง สภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลจากการที่ผู้ทดลองนำตัวแปรอิสระเข้ามา หรือถอนออกไป
ความหมาย

จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก

แนวทางในการศึกษา

ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง

นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียน

ค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา

ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน

จิตวิทยากับการเรียนการสอน

จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน

ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน

1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์

2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย

 ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ

3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน

4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ แก้ปัญหาการเรียนการสอน

จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน

ประการแรก   มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน

ประการที่สอง   นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

หลักการสำคัญ

1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน

2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน

3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่

4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน

-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน

-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน

-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ

ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน

-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม

-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน 

จิตวิทยาการเรียนรู้

ความหมายจิตวิทยาการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
-ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain
๒. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )
๓. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase)
ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูงองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller)เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. แรงขับ (Drive)
๒. สิ่งเร้า (Stimulus)
๓. การตอบสนอง (Response)
๔. การเสริมแรง (Reinforcement)ธรรมชาติของการเรียนรู้Stimulus สิ่งเร้า Sensation ประสาทรับสัมผัส Perception การรับรู้Concept ความคิดรวบยอด Response ปฏิกิริยาตอบสนอง Learning เกิดการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1. การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
2. การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เนื่องมาจากประสบการณ์
3. การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้
4. การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม
5. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม6. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ
7. การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
8. การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน
9. การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่10. การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้การถ่ายโยงการเรียนรู้การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer)การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)การนำความรู้ไปใช้
๑. ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่ ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
๒. พยายามสอนให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง๓. ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียน
ทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
๔. ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
๕. พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กันทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่องทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
๑. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
๑.๑ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theories)
๑.๒ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
http://sailomaonploy.blogspot.com/
๒. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)
๒.๑ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory)
๒.๒ ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)
Ivan P. Pavlovนักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus = UCS) และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response = UCR) เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้
๑. ก่อนการวางเงื่อนไขUCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล)สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (เสียงกระดิ่ง) น้ำลายไม่ไหล
๒. ขณะวางเงื่อนไขCS (เสียงกระดิ่ง) + UCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล
๓. หลังการวางเงื่อนไขCS (เสียงกระดิ่ง) CR (น้ำลายไหล)John B. Watsonนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ ๑๑ เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlovหลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้ ดังนี้
๑. การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
๒. การลดภาวะ หรือการดับสูญการตอบสนอง (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่ (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า Counter - Conditioningลำดับขั้นของการเรียนรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ
3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2) ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด